1. เมื่อเข้าระบบด้วยบัญชีผู้ดูแลระบบ จะปรากฎตัวเลือกสำหรับผู้ดูแลระบบ ดังรูป
 รูปที่ 1 ตัวเลือกผู้ดูแลระบบ
|
1.1 แก้ไขข้อมูลระบบ ดังรูป
 รูปที่ 2 แก้ไขข้อมูลระบบ
|
จากรูปที่ 2 ผู้ดูแลระบบสามารถกำหนดรหัสผ่านของโปรแกรมได้เองตามต้องการ นอกจากนี้ยังสามารถกำหนดบัญชีสำรองให้บุคคลอื่นดูแลในฐานะผู้ดูแลระบบแทนได้ ซึ่งผู้ดูแลจะไม่สามารถแก้ไขรหัสผ่านของผู้ดูแลระบบได้
ข้อความประกาศหรือตัววิ่งสามารถกำหนดแก้ไขได้ที่ข้อความพิเศษ
เว็บบอร์ดมีเป็นของตนเอง สามารถกำหนดเปิดใช้ทั่วไปหรือเฉพาะสมาชิหรือปิดไม่ใช้ นอกจากนี้ยังสามารถเปลี่ยนชื่อปุ่มได้ตามต้องการ
กรณีทำอัลบั้มรูปสามารถกำหนดให้มีเส้นตารางรอบรูปหรือไม่มีเส้น
1.2 การสร้างแบนเนอร์ระบบ ผู้ดูแลระบบสามารถสร้างแบนเนอร์เก็บไว้ในวาระต่าง ๆ นอกจากมีแบนเนอร์หลักตามข้อ 1.1 แล้ว การสร้างแบนเนอร์สามารถกำหนดได้ 2 ลักษณะ คือ
- ให้แสดงแบบกำหนดวันที่ โดยระบุให้แสดงแบนเนอร์ระหว่างที่เท่าใด ถึงวันที่เท่าใด เช่น วันแม่ กำหนดให้แสดงตั้งแต่วันที่ 1 ส.ค. ถึง 31 ส.ค. เมื่อถึงวันดังกล่าวโปรแกรมจะใช้แบนเนอร์นี้แสดงแทนทุกแบนเนอร์
- ให้แสดงแบบสุ่ม โปรแกรมจะตรวจสอบแบนเนอร์แบบวันที่ก่อน หากไม่มีแบนเนอร์ใดเข้าเงื่อนไข โปรแกรมจะสุ่มแบนเนอร์ที่ถูกระบุให้แสดงแบบสุ่มมาแสดงแทน ซึ่งจะหมุนเวียนเปลี่ยนไปเรื่อย ๆ
การกำหนดแบนเนอร์ดังรูป
 รูปที่ 3 กำหนดการแสดงรูปแบนเนอร์
|
1.3 กำหนดรูปแบบการแสดงผล เป็นการกำหนดสีในส่วนต่าง ๆ ของโปรแกรมซึ่งผู้ใช้สามารถกำหนดได้เองตามใจชอบ หรือจะใช้สีจากผู้เขียนตั้งต้นเอง ก็ดังที่แสดงอยู่ในปัจจุบัน การกำหนดสีดังรูปที่ 4 และเมื่อคลิ๊กเปลี่ยนสีจะปรากฎกรอบแสดงเลือกสีดังรูปที่ 5
 รูปที่ 4 กำหนดค่าสีที่แสดงในโปรแกรม
|
 รูปที่ 5 แสดงแถบสีให้เลือกเพื่อกำหนดค่าสี
|
1.4 ระบบจัดการสมาชิก ในระบบของเว็บสามารถมีสมาชิกได้ ซึ่งเมื่อมีการเปิดใช้ระบบสมาชิกตามข้อ 1.1 โปรแกรมจะแสดงตัวเลือกสมัครสมาชิกใหม่ และเมื่อปรากฎมีการสมัครสมาชิก รายชื่อสมาชิกใหม่จะมาแสดงในระบบนี้ ทั้งนี้ผู้ดูแลระบบต้องอนุญาตให้ผู้สมัครใหม่เข้าใช้งานก่อนจึงจะสามารถเข้าใช้งานได้ สำหรับตัวเลือกนี้สามารถแสดงได้ทั้งสมาชิกที่สมัครใหม่และสมาชิกเก่า ดังรูป
 รูปที่ 6 การจัดการกับสมาชิก
|
2. การสร้างระบบเมนูตัวเลือก ในโปรแกรมสามารถมีเมนูตัวเลือกได้สองแบบคือ
- แบบปุ่มเมนูด้านบนใต้แบนเนอร์
- แบบกล่องเมนูด้านข้างซ้าย
เมื่อเข้าระบบด้วยบัญชีผู้ดูแลระบบ โปรแกรมจะแสดงสัญลักษณ์ในการเพิ่มตัวเลือก ดังนี้
2.1 การสร้างตัวเลือกด้านบน โปรแกรมจะแสดงรูป
 รูปที่ 7 สัญลักษณ์เพิ่มปุ่มตัวเลือก
|
จากนั้นโปรแกรมจะแสดงกรอบรับข้อมูล ดังรูป
 รูปที่ 8 เพิ่มชื่อปุ่มตัวเลือก
|
2.2 สร้างกล่องตัวเลือก โปรแกรมเปิดให้มีการสร้างกล่องตัวเลือกได้ไม่จำกัด ในแต่ละกล่องมีตัวเลือกหลักและตัวเลือกย่อย ซึ่งการกระทำแบบนี้ทำให้สามารถจัดกลุ่มของตัวเลือกให้อยู่ในหมวดหมู่เดียวกันได้โดยง่าย ทั้งนี้เมื่อเข้าระบบด้วยผู้ดูแลระบบจะปรากฎตัวเลือกดังรูปที่ 9 และเมื่อคลิ๊กโปรแกรมจะรับข้อมูลดังรูปที่ 10
 รูปที่ 9 เพิ่มกล่องตัวเลือก
|
 รูปที่ 10 รับข้อมูลชื่อกล่องตัวเลือก
|
เมื่อสร้างกล่องตัวเลือกเสร็จ โปรแกรมจะแสดงกล่องตัวเลือกด้านซ้าย และจะปรากฎเมนูจัดการตัวเลือกย่อย ซึ่งเมื่อคลิ๊กที่ตัวเลือกดังกล่าวโปรแกรมจะแสดงข้อความดังรูป
 รูปที่ 11 สร้างตัวเลือกสำหรับกล่องเมนู
|
จากรูป
- ดินสอ - การแก้ไข
- กากบาทแดง - ลบตัวเลือก
- บวกสีเขียว - เพิ่มข้อมูล
การทำลิ้งค์ของเมนูสามารถเลือกให้เป็นลิ้งค์ที่เชื่อมโยงไปยังเว็บไซต์อื่นได้โดยใส่ลิ้งค์ของเว็บไซต์นั้นลงไป หากกำหนดเป็นลิ้งค์ภายในหรือไม่ใส่ URL ของเว็บอื่น โปรแกรมจะสร้างกรอบแสดงข้อมูลให้ซึ่งการเพิ่มข้อมูลสามารถคลิ๊กที่เมนูที่สร้างขึ้นโปรแกรมจะแสดงแบบบันทึกข้อมูลให้ต่อไป นอกจากนี้หากต้องการทำลิ้งค์แบบใช้รูปภาพแทนข้อความสามารถทำได้โดยอัพโหลดรูปภาพเข้าไป ส่วนข้อความจะแสดงเมื่อเลื่อนเม้าท์ไปยังรูปภาพที่เรียกว่า HINT
3. การบันทึกข้อมูล เมื่อต้องการเพิ่มแก้ไขข้อมูลของตัวเลือกใดที่เป็นลิ้งค์ภายใน โปรแกรมจะแสดงแบบฟอร์มรับข้อมูลพร้อมทั้งแสดงข้อความตัวอย่าง ดังรูป
 รูปที่ 12 กรอบรับข้อมูลทั่วไป
|
รูปที่ 12 เป็นกรอบรับข้อมูลพื้นฐาน โดยสามารถใส่ข้อความ ลิ้งค์ไปยังเว็บไซต์อื่น หรือลิ้งค์วีดิโอจาก YouTube
ในส่วนของข้อความสามารถปรับรูปแบบของตัวอักษร ขนาด สี การวางตำแหน่ง การขีดเส้นคั่นระหว่างข้อความ คล้าย ๆ MS Word ขนาดเล็ก
สำหรับลิ้งค์ไปยังเว็บไซต์อื่นหรือลิ้งค์ของ YouTube เพียงแค่นำลิ้งค์มาวางไว้โปรแกรมจะตรวจสอบและสร้างการเชื่อมโยงที่เหมาะสมให้
การแทรกรูปภาพ มีกรอบรับข้อมูลถัดจากข้อมูลพื้นฐานดังรูป
 รูปที่ 13 กรอบรับข้อมูลรูปภาพ
|
การเพิ่มรูปภาพสามารถดัดแปลงเป็นอัลบั้มรูปสำหรับงานหรือกิจกรรมต่าง ๆ ได้ โปรแกรมสร้างแถวรูปภาพไว้ 3 รูปต่อแถว และสร้างชุดคำสั่งสำหรับการขยายรูปไว้ให้เมื่อคลิ๊กที่รูปจะป๊อปหน้าต่างขยายรูป นอกจากนี้ยังสามารถประยุกต์ใช้กับการขายสินค้า เช่นใส่รหัส ราคา คำอธิบายสินค้า ซึ่งรหัสสินค้าและคำอธิบายสามารถใช้การค้นหาได้จากตัวเลือกระบบเมื่อเปิดใช้ตัวเลือกนี้จากข้อกำหนดของโปรแกรมตามข้อ 1.
การอัพโหลดไฟล์ข้อมูล ใช้สำหรับกรณีต้องการอัพโหลดไฟล์เช่น MS Word, Excel หรือ PDF ไฟล์ ทั้งนี้โปรแกรมจะสร้างกรอบการดาวน์โหลดให้เองเพียงแค่อัพไฟล์เหล่านี้เข้าระบบเท่านั้น ดังรูป
 รูปที่ 14 การส่งไฟล์เพื่อเผยแพร่ (Download)
|
การสร้างเฟรมนำข้อมูลจากเว็บไซต์อื่นมาแสดงภายในเว็บสามารถทำได้โดยนำลิ้งค์ของเว็บไซต์นั้นมาระบุไว้ในแบบบันทึกเฟรมลิ้งค์ และตัวอย่างด้านล่างเป็นการนำข้อมูลหนังสือราชการจาก สพฐ.มาแสดงเป็นเฟรมลิ้งค์ดังกล่าว
 รูปที่ 15 การแสดงข้อมูลจากเว็บไซต์อื่นในรูปแบบเฟรมลิ้งค์
|
|